หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐

"ทำไมเรียกประธานเชียร์"

บุคคลทั่วไป : เรียกประธาน ดูใหญ่จัง ทำไมไม่เรียก หัวหน้าเชียร์ คนนำเชียร์ ??
ที่มา : http://www.osknetwork.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1522&postdays=0&postorder=asc&start=30


อาจจะเป็นเพราะ..สมัยโน้น ในยุคจอมพลป.-จอมพลสฤษดิ์-ครองเมืองมาจนถึงยุค..ถนอม-ประภาษ บรรดานิสิตนักศึกษา (เฉพาะอย่างยิ่งจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์) ได้รับอนุญาตให้ทำกิจกรรมนอกเวลาเรียนได้ โดยให้จัดตั้งเป็น "สโมสร" ขึ้น..

อย่างจุฬาฯ ก้อเรียก-สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกย่อว่า "สจม." ธรรมศาสตร์ เรียก-สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ย่อว่า "สมธ." หรือ เกษตรฯ ก็เรียก-สโมสรนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ "สมก." ฯลฯ และรูปแบบองค์กร ก็จะมีคณะฯ ต่างๆ เข้ามาอยู่ในสังกัดสโมสร กับอีกส่วนหนึ่งจะเป็นกลุ่มผู้ทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาเป็น "ชุมนุม" หรือ "ชมรม" โดยทั้งหมดจะบริหารงาน ขึ้นตรงต่อ สโมสร ของแต่ละสถาบันนั้นๆ สำหรับบุคลากรที่เข้ามาทำกิจกรรมเหล่านี้ จะมีการเลือกตั้งตำแหน่งสำคัญๆ ในระดับบริหารของสโมสร เป็นรูปแบบการเลือกตั้งทั่วไป จากนิสิตนักศึกษาทั้งสถาบัน มีตำแหน่งคล้ายๆ กัน และจำนวนพอๆ กันทุกแห่งได้แก่ นายกสโมสร / อุปนายกสโมสร (ตำแหน่งอุปฯ มีประมาณ 2 คน แบ่งกันทำหน้าที่ช่วยนายกฯ เช่นงานภายในสถาบันเรียก-อุปฯ ใน / งานภายนอก เรียก-อุปฯ นอก) เลขานุการ / เหรัญญิก / นายกนิสิตหรือนักศึกษาหญิง (ตำแหน่งนี้-คิดว่ามีไว้เพื่อแสดงออกถึงสิทธิสตรีต้องเท่าเทียมเพศชาย และน่าแปลกคือ-อยู่ในตำแหน่งต้องเลือกตั้งทั่วไป ผู้ชายก็มีสิทธิ์เลือกได้ ดังนั้น-ผู้ได้ตำแหน่งจึงมักจะหน้าตาสะสวยพอสมควร.. จนถึงระยะหลังๆ ที่นิสิตนักศึกษาเริ่มมีความคิดหัวก้าวหน้าท้าเผด็จการ.. ตำแหน่งนี้-จึงค่อยเปลี่ยนจากใช้หน้าตา-มาเป็นการใช้สมอง) และสุดท้าย..ที่ทุกสถาบันจะต้องมีคือ "ประธานเชียร์" ซึ่งเป็นตำแหน่งเลือกตั้งทั่วไป ..บางครั้งอาจจะสำคัญมากเป็นพิเศษ มากกว่าตำแหน่ง "นายกสโมสร" ซะด้วยซ้ำ

คนจะเป็นประธานเชียร์ของแต่ละแห่งได้นั้น จะต้องสะสมภาพลักษณ์-คาแรคเตอร์และบารมีของตนพอควร ไม่งั้น..จะไม่ได้รับฉันทามติให้ดำรงตำแหน่งนี้โดยเด็ดขาด ส่วนองค์กรกิจกรรมของแต่ละคณะฯ ก็ล้อกันไปกับสโมสร เพียงแต่ชื่อตำแหน่งสูงสุดของคณะฯ อาจเปลี่ยนไปเรียกเป็น หัวหน้านิสิต-ประธานนักศึกษา หรือ อาจเรียกซ้ำเป็น นายกนักศึกษาคณะ... ก้อแล้วแต่ และอีกส่วนหนึ่งที่สังกัดสโมสรและกล่าวถึงแต่ต้นคือ ชุมนุม หรือ ชมรม บุคลากรที่อาสาเข้ามาทำกิจกรรมตรงนี้ จะเลือกตั้งกันเองระหว่างสมาชิกของกลุ่ม เป็นตำแหน่งบริหารภายในของตน..ตามแต่จะเห็นเหมาะสมว่ามีตำแหน่งใดบ้าง และตำแหน่งสูงสุดขององค์กรระดับนี้ มักจะเรียกเหมือนกันหมดคือ "ประธาน" (อันนี้ยังสงสัยว่า-สมัยเผด็จการที่เกลียดคอมมิวนิสต์เข้ากระดูกดำและคุมเข้มนักศึกษาอยู่นั้น ทำไม ? ..จึงไม่เข้ามาทักท้วงการตั้งชื่อตำแหน่งทำกิจกรรมของนิสิตนักศึกษาตำแหน่งนี้ เพราะมันไปตรงกับคำแปลภาษาไทยซึ่งเรียกชื่อตำแหน่งสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ว่า "ประธานพรรค" โดยมีบุรุษห้าสั้นชื่อก้องโลกดำรงตำแหน่ง แล้วเราเรียกกันคุ้นปากว่า.. "ประธานเหมา" ที่มีนามเต็มว่า "เหมาเจ๋าตง" หรือเพี้ยนเป็น "เมาเซตุง" ในช่วงแรกๆ)

วกกลับมาที่การเสวนาในคราวนี้ต่อ.. เมื่อกิจกรรมภายในระดับอุดมศึกษาเป็นรูปแบบดังกล่าว โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนชั้นแนวหน้าของระดับมัธยม จัดทำกิจกรรมเพื่อฝึกฝนประสบการณ์ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในห้องเรียน (คุยได้เลยว่า-เป็นโรงเรียนแรกและแห่งเดียว..ที่เก่งสุดๆ ในยุคนั้น และจากนักกิจกรรมในโรงเรียนนี้แหละ..ที่ก้าวไปรับตำแหน่งคีย์แมนสำคัญๆ ของการทำกิจกรรมทุกระดับในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ) รูปแบบองค์กรของเรา..จึงนำมาจากรูปแบบสโมสรของมหาวิทยาลัย แต่ของเราเรียกว่า "คณะกรรมการนักเรียน" แทน "สโมสร" (เพราะหากใช้แบบเขาแล้ว อาจจะดูแก่แดดไปหน่อย) และเปลี่ยนชื่อตำแหน่งสูงสุดให้ดูเล็กลงมาด้วย โดยเรียกเป็น "ประธานนักเรียน" น่าจะเหมาะสมกว่า ไอ้ครั้นจะเรียกเป็น "หัวหน้านักเรียน" มันก็ดูจ้อยไปหน่อย ..เหมือน "หัวหน้าห้อง" กระจอกเกินไป เรามีแนวทางฝึกฝนประชาธิปไตย เช่นเดียวกัน โดยเปิดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไปด้วย เพียงแต่ให้นักเรียนทั้งโรงเรียนเลือกแค่ "ประธานนักเรียน" ตำแหน่งเดียว จากนั้น ผู้ชนะเลือกตั้ง จะไปสรรหาคนเข้ามาทำกิจกรรมตำแหน่งต่างๆ เอาเอง เรียกว่าไปฟอร์มทีมทำงานของตน (คล้ายกับการทำงานสโมสรกีฬาของประเทศเรา) ตำแหน่งสำคัญๆ ก็เช่น รองประธานฯ / เลขานุการ / เหรัญญิก / ปฏิคม / ประชาสัมพันธ์ / สาราณียากร / นายทะเบียน ..เป็นต้น แต่แปลกและเท่กว่าระดับมหาวิทยาลัยตรงที่..เรามีตำแหน่งเป็นการเฉพาะเจาะจง อาทิ บันเทิง / แสง-เสียง / บรรณารักษ์ ..รับผิดชอบหน้าที่ตรงนี้ชัดๆ ไปเลย และรูปแบบกิจกรรมที่เหมือนกับมหาวิทยาลัยเป๊ะก็คือ.. เรามีชุมนุมต่างๆ ซึ่งเลือกตั้งตำแหน่งขึ้นมาทำงาน จากสมาชิกภายในของตน แล้ว "ประธานชุมนุม" จึงเข้ามาอยู่ใน "คณะกรรมการนักเรียน" ดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยชุมนุมเหล่านั้น ตั้งชื่อตามลักษณะกิจกรรมที่ทำ อาทิ ชุมนุมวิทย์ / ชุมนุมสังคมฯ / ชุมนุมกีฬา ฯลฯ ในบรรดาตำแหน่งต่างๆ ของคณะกรรมการนักเรียนนั้น มีอยู่หน้าที่หนึ่ง ซึ่งป๊อบปูล่า-ฟู่ฟ่าพอสมควร บางครั้ง-เด่นดังกว่า ประธานนักเรียน แบบเดียวกับระดับมหาวิทยาลัยที่เด่นกว่าตำแหน่ง นายกฯ นั่นคือ "ประธานเชียร์" ต่างกันตรงที่ ของเราเป็นการแต่งตั้ง-ไม่ได้มาจากเลือกตั้งทั่วไป อาจจะเป็นด้วยลักษณะกิจกรรมที่โดดเด่นดังกล่าว ตำแหน่งผู้นำกิจกรรมนี้ จึงได้รับการยกระดับเรียกขานเป็น.. "ประธาน"..ให้เหมาะกับฐานานุรูป

ในประวัติศาสตร์สวนกุหลาบฯ นั้น มีคนดังคนหนึ่งที่โยงใยกับตำแหน่งนี้อย่างน่าทึ่ง ท่านคือ "พี่หลอ-ประภัทร์ ศรลัมพ์" ..เมื่อปี 2509 นั้น...พี่หลอ เป็นหนึ่งใน 8 แคนดิเดท ลงรับเลือกตั้งเป็นประธานนักเรียน (ยุคนั้น-อาจารย์จะเป็นผู้พิจารณาผู้เหมาะสมจากนักเรียนชั้น ม.ศ.4 ทั้ง 8 ห้อง มาให้เลือก) ปรากฎว่า-พี่หลอ ไม่ต้องการรับผิดชอบงานสำคัญระดับประธานนักเรียน หรืออาจจะเป็นเพราะเล็งว่า..ต้องเรียบร้อย ไม่สามารถโจนทะยานได้เต็มตัว แกเลยกล่าวระหว่างการเปิดให้แสดงวิสัยทัศน์ผู้สมัครแก่นักเรียนทั้งโรงเรียนว่า.. "หากรักผม..อย่าเลือกผมเป็นประธานนักเรียน" แล้วก้อได้ตามปรารถนา..เพราะผลคะแนนรวมออกมา พี่หลอ..ได้คะแนนบ๊วย..ถูกผู้ชนะทิ้งกระจุยไม่เห็นฝุ่น ผู้ได้เป็นประธานนักเรียน จึงเชิญพี่หลอให้ดำรงตำแหน่งประธานเชียร์สวนฯ ในปี 2509 วีรกรรมของพี่ท่านนี้ยังต่อเนื่องมาถึงตอนเรียนจุฬาฯ อีก เพราะแกมาเป็นเชียร์ลีดเดอร์ทั้งระดับ คณะฯ ที่นิเทศศาสตร์ และระดับ สจม.ด้วย จนก้าวขึ้นมาอยู่ชั้นปีที่สาม..ช่วงปลายปี ซึ่งต้องมีเลือกตั้งทั่วไปของ สจม. พี่หลอ-ถูกผลักดันให้ลงสมัครในตำแหน่ง "ประธานเชียร์ สจม." (ยุคนั้น-ต่างคนต่างสมัครอิสระ..ยังไม่มีการตั้งกลุ่มตั้งพรรคสมัครเป็นทีม) ปรากฎว่า แกได้รับคะแนนเสียงท่วมท้น ให้ดำรงตำแหน่งนี้ ในปี 2514 เป็นประวัติศาสตร์จุฬาฯ ที่ต้องจารึกไว้ว่า.. ผู้มาจากคณะฯ เล็กๆ ที่มีนิสิตไม่ถึง 500 คน กลับชนะเลือกตั้งทั่วไปได้อย่างสะอาด..โดยเฉพาะตำแหน่ง ประธานเชียร์ สจม. ที่ผูกขาดอยู่เฉพาะคณะฯ ที่มีนิสิตจำนวนมากๆ เช่น วิศวะ, วิทยา, รัฐศาสตร์ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันชนะเลือกตั้ง ได้ตำแหน่งนี้ เขียนมายาวเหยียด..ก้อน่าจะเสวนาตอบคำถามที่ว่า ทำไม-ไม่เรียกตำแหน่งนี้ว่า.. หัวหน้า หรือ คนนำ ได้กระมัง อ้อ !! ตำแหน่ง-คนนำ-ฟังแล้วก้อไม่ค่อยเหมาะ เพราะขนาดคนทำหน้าที่-ผู้นำเชียร์ เรายังเรียกทับศัพท์ว่า..เชียร์ลีดเดอร์..เลย


คัดลอกจาก โต๊ะสวนฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

ป้ายกำกับ

2553 (1) กิจกรรม (7) กิจกรรมทางศูนย์ข่าว (9) กิจกรรมแนะแนว (16) กิจกรรมประจำเดือน (5) กีฬาสี (1) ขอความช่วยเหลือ (2) ข่าวในเครือสวนกุหลาบฯ (2) ข่าวในพระราชสำนัก (1) ข่าวโรงเรียน (24) คณะกรรมการนักเรียน (1) คริสต์มาส 2009 (1) เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน (1) งานกิจกรรม (11) จากเหย้า (1) เชียร์และแปรอักษร (5) ทันโลก บันเทิง (2) บอลลีค (4) บันทึก(ไม่)ลับ ณ ค่ายลูกเสือ (2) ประกาศผล (1) ปิดเทอมใหม่ หัวใจชุ่มๆ (3) ผลการแข่งขัน (2) ผู้อำนวยการ (2) แม่โดมเกมส์ (1) ยินดีต้อนรับ (1) รางวัล (1) รายละเอียดศูนย์ข่าวทดลอง (1) ละ่อ่อน (1) วันเด็ก 2010 (1) วันละอ่อน (1) วันไหว้ครู (1) ศูนย์ข่าวทดลองฯ ทีมข่าวEnt’Conner (1) สมุดสีใหม่ 30 สี (3) สอวน. (1) สอวน.คณิต (1) สอวน.คอม (1) สอวน.เคมี (1) หนังสั้น (1) ให้ปากคำ (6) CURFEW (1) Easy Chinese (2) OSKR NEWS (8) service announcements (2) SKR_CUP (4) TALKING_PP (11) youtube (1)