
ตอบ:ไม่มีหรอกน้อง มีแค่สวนฯที่เดียวพอแล้ว!
ถาม:ทำไมไม่มีเหมือนสวนฯล่ะพี่ น่าสนุกดี
ตอบ:น้อง ไอ้สนุกของน้องคืออะไร น้องลองไปอ่านจุดประสงค์ของการจัดงานที่พี่ลงให้ อ่านซะ! งานเปิดลานบ้านสวนฯก็มีพอแล้วน้อง เชื่อพี่เถอะว่าเทอม2น้องก็ไม่มีเวลาเรียนแล้ว เชื่อพี่ ถ้าอยากรู้แจ้งฝ่ายกิจกรรมแต่ขอให้อ่านจุดประสงค์ของการจัดงานก่อนซี
ถาม:แล้วไปร่วมงานได้ไหมพี่ อยากเดินสวนฯ
ตอบ:ไปเดินสวนฯจตุจักรไหม พวกพี่ที่เขาไปกันนะ เขาเชิญให้ไปเท่านั้นน้องโดยมีอาจารย์ฝ่ายกิจกรรมตามไปดูแล ถ้าอยากไป ไปอยู่กับกน. ถ้าจะโดดเรียนไปก็คิดให้ดีน้องว่าการเรียนกับการเที่ยวอะไรสำคัญกว่ากัน พ่อแม่ส่งมาเรียนนะน้อง คิดซิคิด
ถาม:พี่ๆ พี่กวน...ผมอยู่รึเปล่า
ตอบ:ไม่มีหรอกน้อง บก.มันสั่ง พี่เลยต้องปากอย่างงี้ ปากอย่างงี้รักจริงหวังแต่งนะเว้ย!!!
------------------ขอให้ทุกคนอ่าน----------------------------
งานสมานมิตรคือ
งานสมานมิตรโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นงานประเพณีอย่างหนึ่งของโรงเรียน ที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน เป็นงานรื่นเริงประจำปีที่มีครู-อาจารย์ ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันมารวมกันเป็นจำนวนมาก
งานสมานมิตร50 สวนฯเขานะน้อง
ประวัติงานสมานมิตร
แต่เดิมงานสมานมิตรอยู่ในวงของนักเรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษา (ม. 4-5-6 ในปัจจุบัน)กับนักเรียนเก่ารุ่นพี่ ๆ ที่จบจากโรงเรียนไปแล้ว ต่อมาได้กลายเป็นงานของนักเรียนปัจจุบัน ทั้งโรงเรียนกับศิษย์เก่า จึงเป็นงานสมานมิตรที่กว้างออกไป ในอดีตงานสมานมิตรจะจัดให้มีในวันที่ 16 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเปิดภาคเรียนของปีการ ศึกษา เพราะสมัยก่อนแบ่งภาคเรียนออกเป็น 3 ภาค แต่ในปัจจุบันแบ่งภาคเรียนออกเป็น 2 ภาคงานสมานมิตรจึงเปลี่ยนมาจัดในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายก่อนเปิดภาคเรียนในเดือนตุลาคม โดยกำหนดเป็นวันจันทร์แรกของเดือนกันยายน ของทุกปีเป็นวันจัด "งานสมานมิตร"
วงฟลัวมาสาดความมัน ณ สวนฯ
วัตถุประสงค์ของงานสมานมิตร
เพื่อรักษาความมีน้ำใจอันดีต่อกันระหว่างศิษย์เก่ากับศิษย์ปัจจุบัน การจัดงานสมานมิตรนั้น เป็นการช่วยให้ศิษย์ปัจจุบันเข้าใจศิษย์รุ่นพี่ดีขึ้นว่า แม้จะต้องจากสถานศึกษาไปแล้วก็ยังต้องการที่จะหาเวลามาร่วมงานสนุกสนานกับศิษย์รุ่นปัจจุบัน เพื่อเป็นตัวอย่างแห่งความมีน้ำใจดี และความเป็นผู้มีใจเป็นนักกีฬา เพราะเป็นศิษย์สวนกุหลาบด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นการแนะนำ ครู-อาจารย์ ให้นักเรียนเข้าใหม่ได้รู้จักและเป็นการแนะนำรุ่นพี่ รุ่นน้องที่กำลังเรียนอยู่ให้รู้จักกันดียิ่งขึ้น โดยมีหนังสือที่ระลึกในงานสมานมิตรคือ "หนังสือสมานมิตร"
ศิษย์เก่าสวนกุหลาบวิทยาลัย ที่คนไทยวัยรุ่นรู้จัก
รูปแบบการจัดงาน
งานสมานมิตรในสมัยแรก ๆ นั้น ในตอนกลางวันมิได้จัดงานกันมากเช่นในปัจจุบัน สำหรับนักเรียนชั้นเล็ก มีการรื่นเริง และรับประทานอาหารร่วมกันในห้องเรียน แต่สำหรับนักเรียนชั้นสูงสุดของโรงเรียนสมัยนั้นก็คือชั้นเตรียมปีที่ 2 จะมีงานเลี้ยงในตอนเย็น มีการรับประทานอาหารร่วมกัน ระหว่างศิษย์ปัจจุบันกับศิษย์เก่า และเชิญครู-อาจารย์มาร่วมงานด้วย การเลี้ยงเป็นแบบโต๊ะจีน เป็นการสมานมิตรสามัคคี แนะแนวและชี้แนะนักเรียนรุ่นน้องในการจะไปสอบเข้าเรียนต่อในชั้นอุดมศึกษา งานจะจบประมาณ 21.00 น. ต่อมารูปแบบของงานสมานมิตรได้เปลี่ยนไป คือมีงานเฉพาะตอนกลางวัน เริ่มตั้งแต่ เวลา 06.00 น. มีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวนรูปเท่ากับอายุของโรงเรียน ในแต่ละปีเปิดงานเวลา 08.00 น. มีการแข่งกีฬา การเล่นเกม การจำหน่ายของที่ระลึก และการแสดงต่าง ๆ บนเวที ในหอประชุม และนอกหอประชุม ส่วนกิจกรรมภายในห้องเรียนมีการจัดโต๊ะเรียนเป็นโต๊ะรับประทานอาหาร ตกแต่งห้องให้ดูสวยงามและเป็นระเบียบ นักเรียนในแต่ระดับชั้น (ม. 1 - ม. 5) จะนำอาหารมาร่วมรับประทานกันระหว่างนักเรียนกับอาจารย์ที่ปรึกษา มีการประกวดการจัดห้องเรียนแบ่งออกเป็นระดับชั้นต่าง ๆ โดยมีคณาจารย์ เป็นกรรมการตัดสิน ซึ่งจะประกาศผลในตอนปิดงานคือ เวลา 18.00 น
แต่เดิมงานสมานมิตรอยู่ในวงของนักเรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษา (ม. 4-5-6 ในปัจจุบัน)กับนักเรียนเก่ารุ่นพี่ ๆ ที่จบจากโรงเรียนไปแล้ว ต่อมาได้กลายเป็นงานของนักเรียนปัจจุบัน ทั้งโรงเรียนกับศิษย์เก่า จึงเป็นงานสมานมิตรที่กว้างออกไป ในอดีตงานสมานมิตรจะจัดให้มีในวันที่ 16 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเปิดภาคเรียนของปีการ ศึกษา เพราะสมัยก่อนแบ่งภาคเรียนออกเป็น 3 ภาค แต่ในปัจจุบันแบ่งภาคเรียนออกเป็น 2 ภาคงานสมานมิตรจึงเปลี่ยนมาจัดในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายก่อนเปิดภาคเรียนในเดือนตุลาคม โดยกำหนดเป็นวันจันทร์แรกของเดือนกันยายน ของทุกปีเป็นวันจัด "งานสมานมิตร" เพื่อรักษาความมีน้ำใจอันดีต่อกันระหว่างศิษย์เก่ากับศิษย์ปัจจุบัน การจัดงานสมานมิตรนั้น เป็นการช่วยให้ศิษย์ปัจจุบันเข้าใจศิษย์รุ่นพี่ดีขึ้นว่า แม้จะต้องจากสถานศึกษาไปแล้วก็ยังต้องการที่จะหาเวลามาร่วมงานสนุกสนานกับศิษย์รุ่นปัจจุบัน เพื่อเป็นตัวอย่างแห่งความมีน้ำใจดี และความเป็นผู้มีใจเป็นนักกีฬา เพราะเป็นศิษย์สวนกุหลาบด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นการแนะนำ ครู-อาจารย์ ให้นักเรียนเข้าใหม่ได้รู้จักและเป็นการแนะนำรุ่นพี่ รุ่นน้องที่กำลังเรียนอยู่ให้รู้จักกันดียิ่งขึ้น โดยมีหนังสือที่ระลึกในงานสมานมิตรคือ "หนังสือสมานมิตร" งานสมานมิตรในสมัยแรก ๆ นั้น ในตอนกลางวันมิได้จัดงานกันมากเช่นในปัจจุบัน สำหรับนักเรียนชั้นเล็ก มีการรื่นเริง และรับประทานอาหารร่วมกันในห้องเรียน แต่สำหรับนักเรียนชั้นสูงสุดของโรงเรียนสมัยนั้นก็คือชั้นเตรียมปีที่ 2 จะมีงานเลี้ยงในตอนเย็น มีการรับประทานอาหารร่วมกัน ระหว่างศิษย์ปัจจุบันกับศิษย์เก่า และเชิญครู-อาจารย์มาร่วมงานด้วย การเลี้ยงเป็นแบบโต๊ะจีน เป็นการสมานมิตรสามัคคี แนะแนวและชี้แนะนักเรียนรุ่นน้องในการจะไปสอบเข้าเรียนต่อในชั้นอุดมศึกษา งานจะจบประมาณ 21.00 น.
ต่อมารูปแบบของงานสมานมิตรได้เปลี่ยนไป คือมีงานเฉพาะตอนกลางวัน เริ่มตั้งแต่ เวลา 06.00 น. มีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จำนวนรูปเท่ากับอายุของโรงเรียน ในแต่ละปีเปิดงานเวลา 08.00 น. มีการแข่งกีฬา การเล่นเกม การจำหน่ายของที่ระลึก และการแสดงต่าง ๆ บนเวที ในหอประชุม และนอกหอประชุม ส่วนกิจกรรมภายในห้องเรียนมีการจัดโต๊ะเรียนเป็นโต๊ะรับประทานอาหาร ตกแต่งห้องให้ดูสวยงามและเป็นระเบียบ นักเรียนในแต่ระดับชั้น (ม. 1 - ม. 5) จะนำอาหารมาร่วมรับประทานกันระหว่างนักเรียนกับอาจารย์ที่ปรึกษา มีการประกวดการจัดห้องเรียนแบ่งออกเป็นระดับชั้นต่าง ๆ โดยมีคณาจารย์ เป็นกรรมการตัดสิน ซึ่งจะประกาศผลในตอนปิดงานคือ เวลา 18.00 น.
การจัดงานสมานมิตรนั้น เป็นการช่วยให้ศิษย์ปัจจุบันเข้าใจศิษย์รุ่นพี่ดีขึ้นว่า แม้จะต้องจากสถานศึกษาไปแล้วก็ยังต้องการที่จะหาเวลามาร่วมงานสนุกสนานกับศิษย์รุ่นปัจจุบัน เพื่อเป็นตัวอย่างแห่งความมีน้ำใจดี และความเป็นผู้มีใจเป็นนักกีฬา เพราะเป็นศิษย์สวนกุหลาบด้วยกัน นอกจากนี้ยังเป็นการแนะนำ ครู-อาจารย์ ให้นักเรียนเข้าใหม่ได้รู้จักและเป็นการแนะนำรุ่นพี่ รุ่นน้องที่กำลังเรียนอยู่ให้รู้จักกันดียิ่งขึ้น โดยมีหนังสือที่ระลึกในงานสมานมิตรคือ "หนังสือสมานมิตร
ของขายในงาน(เพื่อนบก.ก็ซื้อแต่ไม่แจกใคร)
หมวกไฉไลที่บก.จับมากับมือแต่ไม่ซื้ออีกตามเคย
แหล่งอ้างอิง http://library.sk.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=24&Itemid=75